ข้อมูลล่าสุดจากดาวเทียมเผยให้เห็นว่าป่าดงดิบหรือป่าดิบชื้นเก่าแก่ที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในปริมาณมหาศาลกำลังสูญหายไปจากหลายพื้นที่ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ในสหรัฐฯ ที่ทำการศึกษาต้นไม้ความสูง 5 เมตรขึ้นไปพบว่า ในปี 2019 โลกได้สูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิ (primary forest) ขนาดเท่า 1 สนามฟุตบอลไปทุก ๆ 6 วินาที
ป่าปฐมภูมิ คือป่าดั้งเดิมที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติมาเป็นเวลายาวนานแล้ว และยังไม่เคยมีคนบุกรุกเข้าไปทำลาย
บราซิล เป็นประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของพื้นที่ป่าปฐมภูมิที่หายไป เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2016 และ 2017 ที่เกิดความเสียหายอย่างหนักจากไฟป่า
อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สามารถลดการสูญเสียป่าไม้เหล่านี้ไปได้ในปีที่ผ่านมา
ขณะที่ออสเตรเลีย ต้องเผชิญการสูญเสียไม้ยืนต้นอายุมากเพิ่มขึ้น 6 เท่าจากเหตุไฟป่าครั้งใหญ่เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา
ป่าดิบชื้นปฐมภูมิ ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตร้อนทั่วโลกและต้นไม้ในแถบนี้อาจมีอายุเก่าแก่หลายร้อยหรือหลายพันปีนั้น มีบทบาทสำคัญต่อโลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงจะเป็นแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาล แต่ยังเป็นบ้านของบรรดาสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่าง ลิงอุรังอุตัง และเสือด้วย
การสูญเสียที่ไม่อาจยอมรับได้
งานวิจัยชิ้นนี้พบข้อมูลว่า เมื่อปี 2019 พื้นที่ป่าดิบชื้นในโลกหายไป 11.9 ล้านเฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ = 1 หมื่นตารางเมตร หรือ 6 ไร่ 1 งาน) ในจำนวนนี้ 3.8 ล้านเฮกตาร์เป็นพื้นที่ป่าดิบชื้นปฐมภูมิ นับการการสูญเสียป่าไม้ปฐมภูมิครั้งใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 นับจากปี 2000 และปี 2018
ฟรานซิส ซีย์มัวร์ จากสถาบันทรัพยากรโลก ระบุว่า "การสูญเสียพื้นที่ป่าในปี 2019 เป็นระดับที่ไม่อาจยอมรับได้"
"หากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายที่ดี และบังคับใช้กฎหมายก็จะทำให้อัตราการสูญเสียพื้นที่ป่าลดลง แต่หากรัฐบาลหย่อนยานในการควบคุมเรื่องการเผาป่า หรือส่งสัญญาณว่ามีความประสงค์จะเปิดพื้นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อัตราการสูญเสียผืนป่าก็จะเพิ่มขึ้น"
มิเกลลา ไวสส์ จากโกลบอล ฟอเรสต์ วอตช์ ที่เฝ้าติดตามข้อมูลพื้นที่ป่าของโลก ได้กล่าวถึงปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่าในบราซิลว่า "เราพบพื้นที่สำคัญใหม่หลายจุดที่มีการสูญเสียป่าปฐมภูมิในเขตที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมือง โดยเฉพาะในรัฐปารา ของบราซิล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการยึดที่ดินและการทำเหมืองแร่"
ส่วนในอินโดนีเซีย สูญเสียพื้นที่ป่าในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 อันเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการคุ้มครองป่าที่เข้มงวดของรัฐบาล
สถานการณ์ในไทย
ระหว่างปี 2001-2019 ไทยสูญเสียพื้นที่ต้นไม้ปกคลุมไป 2.06 ล้านเฮกตาร์ หายไปราว 10% จากปี 2000 ซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาถึง 807 ล้านตัน
เมื่อปี 2010 ไทยมีผืนป่าธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่ 19.1 ล้านเฮกตาร์ เป็นสัดส่วนราว 37% ของพื้นดินทั้งประเทศ
มาในปี 2019 ได้สูญเสียพื้นที่ป่าธรรมชาติเหล่านี้ไป 1.29 แสนเฮกตาร์ หรือเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศปริมาณ 50 ตัน
ระหว่างปี 2001-2019 ไทยสูญเสียป่าดิบชื้นปฐมภูมิ 1.22 แสนเฮกตาร์ หายไปถึง 98%
จำนวนที่หายไปนี้ คิดเป็น 5.9% ของพื้นที่ต้นไม้ปกคลุมทั้งหมดทั่วประเทศ
"สูญพันธุ์" - Google News
June 03, 2020 at 10:37AM
https://ift.tt/2z2a0o6
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่หายไปจากผืนป่าทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง - บีบีซีไทย
"สูญพันธุ์" - Google News
https://ift.tt/2U2TUlm
No comments:
Post a Comment