การสูญพันธุ์ของสัตว์ขนาดใหญ่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น แมมมอธขนยาว สิงโตถ้ำ และแรดมีขน ในช่วงปลายของยุคน้ำแข็งสุดท้าย มักเกิดจากการแพร่กระจายของมนุษย์ยุคแรกๆ ทั่วโลก แม้ว่าการล่าสัตว์ที่มากเกินไปจะนำไป สู่การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด แต่การศึกษาใหม่จากนักพันธุศาสตร์เชิงวิวัฒนาการของศูนย์พันธุศาสตร์บรรพชีวิน ที่เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์มและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งสวีเดน ได้พบถึงสาเหตุของการสูญพันธุ์ของแรดมีขน
จากการศึกษาเกี่ยวกับขนาดและความเสถียรของประชากรแรดมีขนในไซบีเรีย โดยวิเคราะห์ดีเอ็นเอของตัวอย่างเนื้อเยื่อกระดูกและเส้นขนของสัตว์ที่กินพืช 14 ชนิด และจัดลำดับข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนมเพื่อจะประเมินขนาดของประชากรสัตว์เหล่านั้นในอดีต วิธีนี้ทำให้นักวิจัยประเมินจำนวนแรดมีขนในช่วงเวลาหลายหมื่นปีก่อนการสูญพันธุ์ พบว่าในระยะเริ่มต้นช่วงอากาศหนาวเย็นเมื่อราว 29,000 ปีที่แล้ว ขนาดของประชากรแรดมีขนยังคงที่และการผสมพันธุ์ยังอยู่ในระดับต่ำ ความมั่นคงนี้คงอยู่และดีขึ้นหลังจากที่มนุษย์เริ่มอาศัยอยู่ในไซบีเรีย ซึ่งผลวิจัยนี้ตรงกันข้ามกับข้อมูลก่อนหน้า ที่บอกว่าแรดมีขนสูญพันธุ์จากการล่าสัตว์
นักวิจัยเผยว่าไม่พบการลดลงของขนาดประชากรแรดมีขนหลังจาก 29,000 ปีที่แล้ว ข้อมูลที่ใช้ศึกษาคือช่วง 18,500 ปีก่อน มีนัยว่าแรดมีขน มีจำนวนลดลงในช่วงเวลาประมาณ 4,500 ปีก่อนที่มันจะสูญพันธุ์ นอกจากนี้ ข้อมูลดีเอ็นเอยังชี้ว่าการกลายพันธุ์ช่วยให้แรดมีขนปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้ โดยเฉพาะสภาพอากาศในตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรียตะวันออก เฉียงเหนือ.
(ภาพประกอบ Credit : Albert Protopopov)
อ่านเพิ่มเติม...
"สูญพันธุ์" - Google News
August 20, 2020 at 12:01PM
https://ift.tt/327Idx0
จีโนมโบราณชี้การสูญพันธุ์ของแรดมีขน - ไทยรัฐ
"สูญพันธุ์" - Google News
https://ift.tt/2U2TUlm
No comments:
Post a Comment