Pages

Sunday, August 30, 2020

สัตว์จำศีลชนิดแรกของโลกงีบหลับบ่อย จนรอดชีวิตจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ - บีบีซีไทย

amparipisang.blogspot.com

ภาพจากจินตนาการของศิลปิน แสดงให้เห็นลีสโทรซอรัส (Lystrosaurus) ขณะกำลังหลับจำศีล

ผลวิเคราะห์ซากฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่งในสกุลลีสโทรซอรัส (Lystrosaurus) ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง 250 ล้านปี พบว่ามันอาจเป็นสัตว์ชนิดแรกของโลกที่รู้จักการนอนจำศีล (hibernation) ลดระดับการเผาผลาญของร่างกายลงเพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งจะทำให้มีชีวิตอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย

ลีสโทรซอรัสสายพันธุ์ที่มีพฤติกรรมจำศีล พบอยู่แต่ในทวีปแอนตาร์กติกาเท่านั้น โดยมันเป็นสัตว์เลื้อยคลานกินพืชที่มีขนาดเท่ากับหมู และถือเป็นญาติกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปัจจุบันอีกด้วย ทำให้ไม่น่าประหลาดใจว่าสัตว์โบราณชนิดนี้นอนจำศีลในลักษณะคล้ายกับหมีหรือค้างคาวที่เราคุ้นเคยกันดี

นักวิทยาศาสตร์ทราบถึงพฤติกรรมการจำศีลของลีสโทรซอรัสได้ จากการวิเคราะห์วงปีในเขี้ยวยาวหรืองา ซึ่งจะงอกออกมาจากจะงอยปากคล้ายเต่าของมันตลอดช่วงชีวิต ซึ่งวงปีเหล่านี้บันทึกความเปลี่ยนแปลงของระดับการเผาผลาญในช่วงเวลาต่าง ๆ

รายงานการค้นพบที่ตีพิมพ์ในวารสาร Communications Biology ระบุว่า วงปีในงาของลีสโทรซอรัสที่ปรากฏเป็นแถบแคบเล็กและมีร่องรอยของความเครียดมากกว่าจะแสดงถึงช่วงเวลาที่มีการจำศีล ซึ่งร่องรอยเช่นนี้ก็มีอยู่ในฟันของสัตว์ยุคปัจจุบันที่จำศีลในบางฤดูกาลของทุกปีด้วย

งาที่จะงอยปากถูกตัดขวาง เผยให้เห็นวงปีที่เรียงตัวผิดปกติ (กรอบด้านขวาบน) ซึ่งแสดงว่ามีการจำศีลบ่อยครั้ง

ดร. เมแกน วิตนีย์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดของสหรัฐฯ หนึ่งในทีมนักบรรพชีวินวิทยาผู้ค้นพบเรื่องนี้บอกว่า "สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแถบขั้วโลกมักมีวิธีการปรับตัว เพื่อเอาชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย ซึ่งเราพบว่าการจำศีลนั้นเป็นพฤติกรรมปรับตัวแบบเก่าแก่ที่มีมานานมากแล้ว ไม่ใช่พฤติกรรมใหม่ทางวิวัฒนาการอย่างที่เคยเข้าใจกัน"

แม้พื้นที่แถบขั้วโลกใต้หรือทวีปแอนตาร์กติกาในช่วงต้นของยุคไทรแอสซิก (Triassic) จะมีอากาศอุ่นกว่าในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลรุนแรง ซึ่งลีสโทรซอรัสที่อาศัยในแถบนั้นอาจต้องจำศีลเป็นช่วง ๆ เพื่อให้อยู่รอดผ่านฤดูหนาวที่เย็นจัดแห้งแล้งและขาดแคลนอาหารไปได้

"เราคาดว่าลีสโทรซอรัสมีพฤติกรรมนอนจำศีลแบบสัตว์เลือดอุ่นในปัจจุบัน คือจะไม่หลับลึกหรือหลับยาว แต่จะงีบหลับและตื่นขึ้นบ่อยครั้ง รวมทั้งกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ฟื้นตัวเป็นช่วง ๆ ตลอดฤดูกาลจำศีลของมัน"

"การนอนจำศีลยังอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มันอยู่รอดจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต ระหว่างยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic extinction) เมื่อราว 252 ล้านปีก่อนอีกด้วย" ดร. วิตนีย์กล่าว

Let's block ads! (Why?)



"สูญพันธุ์" - Google News
August 31, 2020 at 08:10AM
https://ift.tt/3b9AGle

สัตว์จำศีลชนิดแรกของโลกงีบหลับบ่อย จนรอดชีวิตจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ - บีบีซีไทย
"สูญพันธุ์" - Google News
https://ift.tt/2U2TUlm

No comments:

Post a Comment